วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
เกมการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะ
ของปัญหา ความรู้และประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหา การแก้ปัญหาโดย
ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติอย่างมีระบบ จะช่วยให้การตัดสินใจ
แก้ปัญหานั้น ง่ายขึ้นและเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
ตัวเลขแสนกล
วงกลมซุกซน
ค้นหาเหรียญปลอม
ปริศนาลากเส้น
กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอน ได้แก่
►การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
►การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
►การดำเนินการการแก้ปัญหา
►การตรวจสอบและปรับปรุง
☼ ขั้นที่ 2 การเลือกเครื่องมือและออกแบบ
☼ ขั้นที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา
☼ ขั้นที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง
►การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
►การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
►การดำเนินการการแก้ปัญหา
►การตรวจสอบและปรับปรุง
☼ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร สิ่งที่ต้องการคืออะไรและวิธีการที่ใช้ประมวลผลเป็นอย่างไรโดยองค์ประกอบในการวิเคราะห์ปัญหามีดังนี้
1.1 การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
1.2 การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
1.3 การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก
ขั้นตอนวิธีการเลือกเครื่องมือและออกแบบ (Tools and Algorithm development)เป็นขั้นตอนของการวางแผน ในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขั้นตอนนี้เริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆของปัญหา อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา คือ ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือที่เราเรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการแก้ปัญหาในขั้นตอนการแก้ปัญหาเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจก็อาจใช้รหัสจำลอง (pseudo code) หรือ ผังงาน (Flow Chart)
การดำเนินการแก้ปัญหา(Implementation)หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จ หรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในการดำเนินการอาจพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ผู้แก้ปัญหาก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
☼ ขั้นที่ 4 การตรวจสอบและปรับปรุง
การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อมั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Flow Chart สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน
ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ความรู้พื้นฐานโปรแกรมภาษาซี
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
☼ ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อน (Preprocessor statements)
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เช่น #include <stdio.h>
หมายความว่า ให้ตัวประมวลผลก่อนไปอ่านข้อมูลจากแฟ้ม stdio.h ซึ่งเป็นแฟ้มที่มีอยู่ในคลัง เมื่อโปรแกรมมีการใช้ข้อความสั่งอ่านและบันทึก จะต้องใช้ข้อมูลจากแฟ้ม stdio.h ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนจะต้องเขียนไว้ตอนต้นของโปรแกรม
☼ ข้อความสั่งหมายเหตุ (Comment Statement)
ข้อความสั่งหมายเหตุ คือ ข้อความที่เขียนไว้ภายในโปรแกรม เพื่อใช้อธิบายโปรแกรม
โดยตัวแปลโปรแกรมจะไม่แปลข้อความสั่งหมายเหจุให้เป็นภาษาเครื่อง
► การเขียนข้อความสั่งหมายเหตุในโปรแกรมทำได้ 2 แบบ ได้แก่
// หมายเหตุ ใช้เครื่องหมาย // หน้าข้อความหมายเหตุ ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดยาวไม่เกิน 1 บรรทัด
/*หมายเหตุ*/ เขียนหมายเหตุไว้ระหว่าง /* และ */ ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 บรรทัดขึ้นไป
ตัวแปรในภาษา C (Variable)
ตัวแปร (Variable)
ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการ ทำงานของโปรแกรม โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้ สำหรับภาษา C ตามมาตรฐาน ASNI (American National Standards Institute) มีตัวแปรไว้ให้ใช้งานอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างประเภทกันไป
ตัวแปรในภาษา C ตามมาตรฐาน ASNI
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
ตัวคงที่ (Constant)
ตัวคงที่มีลักษณะคล้ายตัวแปร แตกต่างจากตัวแปรตรงที่ ค่าที่เก็บในตัวคงที่จะคงเดิมไม่มีวันเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งจบโปรแกรม แต่ค่าที่เก็บตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
การประกาศตัวคงที่ทำได้ 2 วิธี ดังนี้
การประกาศตัวคงที่ทำได้ 2 วิธี ดังนี้
การแสดงผลและการรับค่า
ตัวอย่างการใช้
คำสั่ง printf แสดงข้อความธรรมดาออกทาหน้าจอ
ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันจากคลัง ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ โดยจะบอกเลขที่อยู่ของตัวแปรในหน่วยความจำ แล้วจึงนำค่าที่รับมาไปเก็บไว้ตามที่อยู่นั้น มีรูปแบบ ดังนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)