♠ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขัดขวางความเจริญเติบโตของต้นไม้ก็คือศัตรูของต้นไม้
แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. แมลงต่าง ๆ ได้แก่พวกแมลงที่ใช้ปากดูด
และปากกัด แมลงจำพวกปากดูดพวกนี้ทำอันตรายต่อพืช โดยใช้ปากเจาะเข้าไปในใบ ในลำต้น
ในผล ในหัว แล้วดูดเอาอาหารออกมาจากแผลที่มันเจาะ ได้แก่ พวกเพลื้ยต่าง ๆ เช่น
เพลื้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และแมงมุมแดง ในการกำจัดแมลงพวกนี้ต้องใช้ยาฉีดชนิดถูกต้องตาย
แมลงอีกพวกหนึ่ง ได้แก่ จำพวกปากกัด
แมลงพวกนี้ทำลายพืชโดยใช้ปากเคี้ยวกัดกินใบ กินดอก และส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่
แมลงเต่าทอง หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข็ง การกำจัดแมลงพวกนี้
ใช้ยาฉีดพ่นไว้ตามใบตามต้น ของพืช เมื่อแมลงกินใบหรือส่วนต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าไป
ก็จะทำให้แมลงตาย ยาจำพวกนี้เรียกว่า “ยากินเข้าไปตาย”
2. โรคของพืช เป็นศัตรูของพืชอีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งเกิดจากเชื้อรา บักเตรี และเชื้อวิสา (Virus)
♠ ชนิดของยากำจัดแมลงศัตรูพืช
ยากำจัดแมลงมีด้วยกันหลายชนิด แต่ถ้าแบ่งออกเป็นพวกใหญ่
ๆ ตามลักษณะการฆ่าแมลงแล้ว ก็แบ่งออกเป็น 3 พวกคือ
1. ชนิดแมลงกินเข้าไปแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้
ใช้กำจัดแมลงที่กัดกินใบ ตา กิ่ง ผล ตา ดอก และลำต้น
2. ชนิดถูกตัวแมลงแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้
ใช้กำจัดพวกเพลี้ยต่าง ๆ
3. ชนิดได้กลิ่นแล้วตาย ยากำจัดแมลงชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้และราคาสูงมาก
ยากำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ เหล่านี้
ผู้ผลิตจะทำมาในแบบน้ำมันละลายน้ำได้
แบบยาละลายได้ในน้ำนี้มีเปอร์เซ็นต์ของตัวยาสูง
เมื่อจะนำมาใช้ต้องผสมกับน้ำตามส่วนที่ได้แจ้งไว้
นอกจากจะมีแบบละลายได้ในน้ำแล้วก็ยัง มีแบบผงแบบนี้ไม่ละลายน้ำ
เมื่อจะใช้ก็ใช้พ่นความแรงของตัวยาออกฤทธิ์ประมาณ 1-2%
เป็นส่วนมาก
♠ ประเภทของยากำจัดแมลง
ยากำจัดแมลงศัตรูพืชแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทสารประกอบของคลอริเนเต็ต ไฮโดรคาร์บอน
มีสูตรต่างๆ กันหลายอย่าง ได้ แก่ ดี.ดี.ที., พาราไดคลอไรเบซีล,
ดิลดริน, เพนตาคลอโรฟินอล, มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงปานกลาง ก่อนใช้ต้องผสมตามส่วนที่ได้
แนะนำไว้ใช้ฉีดทุก ๆ 15 วัน
2. ประเภทที่มีสารประกอบคาร์บาเมท มีสูตรต่าง ๆ กัน
แต่ที่แพร่หลายคือเซวิน ยาพวกนี้ ใช้กำจัดแมลงปีกแข็ง ตัวหนอนหรือตั๊กแตน
เป็นยาที่กำจัดแมลงได้กว้างขวาง มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงน้อย
ผสมตามส่วนที่กำหนด ใช้ตามฉลากข้างขวดหรือกระป๋อง ฉีดทุก ๆ 15 วัน
3. ประเภทสารประกอบออแกนโนฟอสเฟต ได้แก่ พาราไธออน,
มาลาไธออน, โคซินอน, ดี.ดี.วี.พี.
รอนเนล, ดิพเทอเรกช์
ยาพวกนี้ใช้กำจัดแมลงที่ดูดใบเลี้ยงจากใบ ตา กิ่ง ยอด ได้แก่พวกเพลี้ยต่าง ๆ
รวมทั้งหนอนผีเสื้อบาง ชนิด ยาประเภทนี้มีพิษสำหรับคนและสัตว์เลี้ยงสูงมาก
การใช้ต้องระวังอันตรายจากยาประเภทนี้
4. ประเภทเนเจอรัล ออแกนนิค
สกัดจากดอกเบญจมาศได้ไพเรททรัม ใช้ผสมไปในยากำจัดแมลง
5. ประเภทอคาริไซด์ เช่น อราไมท์, คลอโรเบนซิเลท, เคลเลน
ยาประเภทนี้ใช้กำจัดแมงมุมแดงโดยเฉพาะ
♠ การฉีดยาหรือพ่นยากำจัดแมลง
เนื่องจากยากำจัดแมลงบางชนิดเป็นยามีพิษ
ดังนั้นการฉีดยากำจัดแมลงศัตรูพืชจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าประมาทเผลอเรอ
อาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถึงแม้จะไม่ตาย แต่มันจะเข้าไปสะสมในร่างกายของเรา
ซึ่งอาจจะทำลายระบบประสาทต่าง ๆ ได้ การพ่นยากำจัดแมลงควรทำดังนี้
1. ก่อนจะใช้ยากำจัดแมลงศัตรูพืช
จะต้องพิจารณาดูก่อนว่าพืชนั้นเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย
ถ้าถูกแมลงทำลายก็ต้องทราบเสียก่อนว่า แมลงที่ทำลายพืชนั้นเป็นเพลี้ยชนิดดูดน้ำเลี้ยงจากใบ
ตากิ่ง ตาดอกและลำต้น หรือเป็นแมลงชนิดกัดกินใบ ตากิ่ง ตาดอก หัวหรือลำต้น
เพื่อทราบแล้วจึงหายากำจัดศัตรูพืชตามชนิดของศัตรูนั้น ๆ
2. เมื่อได้ยากำจัดแมลงศัตรูพืชตามความต้องการแล้ว
ควรอ่านวิธีใช้จากฉลากที่ปิดไว้ข้างขวดว่า
เป็นชนิดน้ำมันละลายน้ำหรือชนิดผงละลายน้ำ และใช้ส่วนผสมอย่างไร
ตวงตามส่วนที่ได้แนะนำ การผสมด้วยน้ำควรผสมแต่ น้อยก่อน กวนให้เข้ากันด้วยไม้
ห้ามใช้มือเป็นอันขาด แล้วเติมน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการแล้วใส่ในเครื่องฉีด
3. ก่อนฉีดควรใช้ผาปิดจมูก เพื่อกันยาไม่ให้เข้าไปในร่างกายในขณะฉีดควรหันหัวฉีดไป
ตามลมอย่าฉีดทวนลม
4. เวลาฉีดยากำจัดศัตรูพืช
ควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็นใกล้ค่ำ ไม่ควรฉีดในขณะที่มีแสงแดดจัด หรืออากาศร้อนจัด
เพราะจะทำให้ยาระเหยเร็ว หรือฉีดก่อนที่ฝนจะตก จะทำให้ฝนชะน้ำยาไปหมด
5. ในขณะฉีดไม่ควรสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหาร
เมื่อเลิกฉีดแล้วต้องล้างมือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำมาก ๆ
น้ำยาและเครื่องมือที่ใช้ก็ต้องล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้ให้เรียบร้อยและปลอดภัย
6. เมื่อจะทำการฉีดยา อย่านำเด็ก สัตว์เลี้ยง
อาหารเครื่องดื่ม เข้าใกล้ที่ฉีดยา เพราะจะทำให้เกิดอันตราย
7. เมื่อเสร็จจากการฉีดยา ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า
อาบน้ำ ฟอกสบู่หลายๆ ครั้งให้สะอาด
เสื้อผ้าที่ใช้แล้วก็ต้องฟอกให้สะอาดและตากให้แห้ง
อย่าเอาเสื้อผ้าเก่าที่ยังไม่ได้ซักมาใช้อีก เพราะจะเป็นที่สะสมยา
เป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
8. ไม่ควรเข้าไปที่บริเวณฉีดยาใหม่ต้องให้หมดกลิ่นเสียก่อนจึงเข้าไปได้
ที่มา ►
http://www.thaikasetsart.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น